ก่อนอื่นนั้นเราต้องเข้าใจว่า

ประเทศไทยได้แบ่งช้างออกเป็น 2 ประเภทภายใต้กฎหมาย 2 ฉบับที่แตกต่างกันคือพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482
และพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

ช้างเลี้ยง

อยู่ภายใต้การจัดการด้วยกฎหมายหลัก
คือพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482

  • เป็นสัตว์พาหนะใช้งาน
  • มีกฎหมายคุ้มครองดูแล

ช้างป่า

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

  • ห้ามล่า ทั้งในและนอกพื้นที่เขตอนุรักษ์
  • ห้ามครอบครอง
  • ห้ามเพาะพันธุ์
  • ห้ามทำการค้า
  • เว้นแต่จะได้รับอนุญาติ

ท่ามกลางกระแสการรณรงค์ อนุรักษ์และปกป้องช้าง
จากประชากรช้างทั่วโลกที่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

แต่ประเทศไทย กลับพบว่าประชากรช้างป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์หลายแห่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

2534 = 1,975 ตัว

2558 = 2,500-3,200 ตัว

2563 = 3,168-3,440 ตัว
2565 = 3,500-3,600 ตัว
2566 = 4,013-4,422 ตัว

จำนวนช้างป่าที่กระจายตามกลุ่มป่าในประเทศไทย

ช้างป่าอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทั้งหมด 93 แห่ง

  • อุทยานแห่งชาติ 48 แห่ง
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 36 แห่ง
  • และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 9 แห่ง
  • ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นกลุ่มป่าที่มีช้างอาศัยอยู่ได้ทั้งหมด 16 กลุ่ม
  • พื้นที่แหล่งอาศัยของช้างป่ามากกว่า 52,000 ตารางกิโลเมตร

พื้นที่แหล่งอาศัยของช้างป่า52,000 ตารางกิโลเมตร

ดอยภูคา-แม่ยม

เคยเป็นที่อยู่อาศัยของช้างแต่ปัจจุบันไม่พบช้าง

ลุ่มน้ำปาย - สาละวิน

จำนวน : 11 - 14 ตัว

ภูเมี่ยง - ภูทอง

จำนวน : 100-110 ตัว

กลุ่มป่าภูพาน

จำนวน : 48-57 ตัว

พนมดงรัก - ผาแต้ม

จำนวน : 30-35 ตัว

กลุ่มป่าภูเขียว - น้ำหวาน

จำนวน : 633 -638 ตัว

ดงพญาเย็น - เขาใหญ่

จำนวน : 450-650 ตัว

กลุ่มป่าตะวันออก

จำนวน : 592 ตัว

ศรีล้านนา - ขุนตาล

จำนวน : 41 ตัว

กลุ่มน้ำปิง - อมก๋อย

จำนวน : 75-85 ตัว

กลุ่มป่าตะวันตก

จำนวน : 970 - 1,064 ตัว

กลุ่มป่าแก่งกระจาน

จำนวน : 487 - 600 ตัว

ชุมพร

จำนวน : 26 - 31 ตัว

กลุ่มป่าแสง - เขาสก

จำนวน : 350 ตัว

เขาหลวง - เขาบรรทัด

จำนวน : 80 - 100 ตัว

กลุ่มป่าฮาลา - บาลา

จำนวน : 120 - 145 ตัว

ลุ่มน้ำปาย - สาละวิน

จำนวน : 11 -14 ตัว

A point with no defined highlight will show the entire uncropped image, like this.

To edit the section, simply upload an image and add, remove, or modify the existing highlights and text.

ขณะที่ช้างป่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่แหล่งอาหารที่มีอยู่ในป่ากลับมีปริมาณที่จำกัด ทำให้ช้างป่า เริ่มที่จะเดินออกมาหาอาหารนอกป่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่การเผชิญหน้ากันระหว่างคนกับช้างป่า

รู้หรือไม่

ข้อมูลจากการสำรวจของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชพบปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ

กว่า 41 แห่ง

แต่พื้นที่ที่มีสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่ารุนแรง

อันดับ 1 คือ

ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด

ภาคตะวันออก

ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด มีพื้นที่ 1.5 ไร่

รองรับช้างได้ทั้งหมด 323 ตัว

แต่ปัจจุบันช้างป่าในภาคตะวันออก

มีทั้งหมด 592 ตัว

ทำให้พบช้างป่าออกนอกพื้นที่

มากขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อช้างเพิ่มขึ้น

การเผชิญหน้ากันระหว่างช้างป่ากับชาวบ้านรอบผืนป่าก็เริ่มหนักขึ้นเรื่อย ๆ

ทำให้ตัวเลขการบาดเจ็บ และเสียชีวิตของคน

ก็เริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีเช่นกัน

เราเป็นชุดที่เพิ่งเข้ามาผลักดันได้ 10 เดือน ต้องบอกว่าสาหัสแต่ยังดีกว่าหลายตำบล ถึงอย่างนั้น ไม่ว่าจะเล็กหรือจะน้อยก็เป็นปัญหาที่เอาความตายมาสู่พวกเราทั้งหมดพวกผมปะทะกันแทบจะทุกอาทิตย์ บางทีบุกถึงบ้าน เราไม่ได้โลกสวย ช้างเราก็รักแต่คนก็ต้องอยู่ เพื่อความปลอดภัยของชาวบ้าน
อาสาเฝ้าระวังช้างป่า อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
ถ้าภาคประชาชนใช้ความรู้ของประชาชน และมีภาครัฐบางส่วนเข้ามาช่วยอบรมแนะนำความรู้ให้เรารู้ถึงพฤติกรรมช้าง และการเอาตัวรอดจากช้างป่า การประกอบอาชีพที่ไม่เสี่ยงภัยกับช้างป่า ได้ความปลอดภัยระดับหนึ่ง แต่ทุกวันนี้ความแน่นอนไม่มี เราเคยปลอดภัยมา 4-5 ปี ทุกครั้งที่ช้างออกมา แต่เดือนนี้ เดือนเดียว เสียชีวิตไป 3 คน

ช้างแถวแก่งหางแมวไม่ได้ออกมาจากป่า เขาฝั่งตัวอยู่ในเขตชุมชน เหมือนเป็นที่พักของช้าง มีอาหาร มีน้ำ อยู่กลางชุมชน และไปอำเภอข้างเคียงด้วย ตอนนี้ช้างไม่อยู่ในป่าแล้ว ตามเขตชุมชนใน อ.อัมพวา จะมีป่าชุมชน มีเขาเป็นลูก ๆ ที่ช้างอาศัยอยู่ได้
ชาวบ้าน อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี

ไม่เพียงแต่ชีวิตของชาวบ้านที่เผชิญหน้าแต่ผลผลิตทางการเกษตรที่ชาวบ้านปลูกไว้เพื่อเลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง ก็ถูกทำลายด้วยเช่นกัน

คนที่ต้องรับผิดชอบมากที่สุด คือ รัฐบาล ปลูกข้าว 5 ไร่ ครอบครัวนึงกินทั้งปี แต่ช้างเหยียบเสียหายหมด รัฐช่วยมาไร่ละ 1,000 บาท เงิน 5,000 บาท เลี้ยงครอบครัวนี้ได้ไม่ตลอดปี หัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต ไม่มีเงินจากรัฐบาลช่วยเลย เป็นเงินที่อนุรักษ์ไปเก็บจากลูกน้องมาช่วยเหลือกันได้ไม่กี่บาท นั่นคือหัวหน้าครอบครัว เขามีลูก 3-4 คน ไม่รู้ลูกจะเรียนจบไปถึงไหน คุณช่วยเหลือเขาแค่ 25,000 บาท
อาสาสมัครเฝ้าระวังช้าง อ.สนามชัย จ.ฉะเชิงเทรา

ภาคตะวันออก มีศักยภาพในการพัฒนาด้านการเกษตรเป็นแหล่งผลิตข้าว พืชผัก พืชหัว
เช่น มันสำปะหลัง และผลไม้

เป็นแหล่งปลูก

ข้าวนาปี มันสำปะหลัง

เป็นแหล่งปลูก

ข้าวนาปี

เป็นแหล่งปลูก

ข้าวนาปี มันสำปะหลัง

เป็นแหล่งปลูก

มันสำปะหลัง

เป็นแหล่งปลูก

ทุเรียน มังคุด

พนมดงรัก - ผาแต้ม

จำนวน : 30-35 ตัว

เป็นแหล่งปลูก

ทุเรียน มังคุด ลำไย เงาะ ลองกอง

เป็นแหล่งปลูก

ทุเรียน มังคุด เงาะ

ปี 2562 ภาคตะวันออก

มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรประมาณ 12.9 ล้านไร่

แต่ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมของภาคตะวันออกได้เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม
และที่อยู่อาศัยมากขึ้น

คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 132,084 ไร่
หรือร้อยละ 77.8 ของประเทศ

จนได้รับฉายาว่าเป็นเมือง
แห่งนิคมอุตสาหกรรม

และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจากการพัฒนา Eastern Seaboard สู่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ภาคตะวันออก (EEC)

จากสาเหตุที่ทำให้ช้างและคนเข้าใกล้กันมากขึ้น จนนำมาสู่การสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพยสิน ประเทศไทย เรามีหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

ลองมาดูกัน

การช่วยเหลือเยียวยากรณีเสียชีวิต
หรือทุพพลภาพ

  • บาดเจ็บสาหัส | รายละ 4,000 บาท
  • พิการ | รายละ 13,000 บาท
  • เสียชีวิต (ค่าทำศพ) | รายละ 29,700 บาท
  • เงินสงเคราะห์ | รายละ 29,700 บาท

การช่วยเหลือเยียวยาที่อยู่อาศัย

ที่พักชั่วคราว

  • ค่าดัดแปลงสถานที่เป็นที่พักชั่วคราว | ครอบครัวละไม่เกิน 2,500 บาท
  • ค่าผ้าใบ/พลาสติก/วัสดุอื่น ๆ สำหรับกันแดด กันฝน | ครอบครัวละไม่เกิน 1,000 บาท
  • ค่าจัดหาสาธารณูปโภคในที่พักชั่วคราว | จัดให้ตามความจำเป็น

การช่วยเหลือเยียวยาที่อยู่อาศัย

ค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง

  • ค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำได้รับความเสียหาย(ผู้ประสบภัยเป็นเจ้าของ) | จ่ายหลังละไม่เกิน 49,500 บาท
  • ค่าซ่อมแซมหรือสร้างยุ้งข้าว โรงเรียนสำหรับเก็บพืชผลและคอกสัตว์ได้รับความเสียหาย | ครอบครัวละไม่เกิน 5,700 บาท

การช่วยเหลือเยียวยาการเกษตร

  • ข้าว | ไร่ละ 1,340 บาท
  • พืชไร่และพืชผัก | ไร่ละ 1,980 บาท
  • ไม้ผล ไม้ยืนต้นและอื่นๆ | ไร่ละ 4,048 บาท

*ความเสียหายที่เกิดขึ้นต้อง 1 ไร่ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 ไร่

เกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564

แม้ว่าที่ผ่านมา มาตรการเยียวยาต่าง ๆ จะมีการปรับปรุงแต่ยังไม่สามารถตอบสนองกับความสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงโดยเป็นความเสียหายที่ต่างจากภัยธรรมชาติทั่วไปเกิดเป็นช่องว่างของการเยียวยา ที่ชาวบ้านเห็นว่ายังไม่เป็นธรรม...